• ภาษาไทย
    • English

ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 : การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจและกลุ่มสถาบัน

ข้อ การดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐาน หมายเลขและรายการหลักฐาน
1. พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของคณะและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะ สถาบัน รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะ และพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงิน และแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุผลตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์และเสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ
     ผลการดำเนินงาน
     คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มีแนวนโยบายที่ชัดเจนต่อการสนองยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยโดยได้จัดทำแผนกลยุทธ์ของคณะตามข้อกำหนดของมหาวิทยาลัย ได้แก่“แผนกลยุทธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๓ และแผนปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑” ผ่านกระบวนการวางแผนที่มุ่งเน้นความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
    ผลการกระทบต่อการดำเนินงานของคณะ รวมถึงการศึกษาและวิเคราะห์ความคิดเห็นต่างๆ ของบุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอันจะนำมาซึ่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนที่เหมาะสมกับบริบทและอัตลักษณ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งกระบวนการทั้งหมดได้มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ 
    คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดกิจกรรมการทบทวนและจัดทำแผนกลยุทธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๓ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีภายใต้“โครงการจัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนการปฏิบัติงานประจำปี”ในระหว่างวันที่ ๑๘–๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ณ รีสอร์ท     ริเวอร์ไซด์  อำเภอละงู  จังหวัดสตูล มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งสิ้น ๑๔ คน ประกอบ ไปด้วย ผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรสายสนับสนุน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมในการวางแผนและกำหนดทิศทางในการดำเนินงานของคณะให้สอดคล้องกับแนวนโยบายของมหาวิทยาลัย โดยกระบวนการดังกล่าวจะสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนให้กับบุคลากรที่จะต้องเป็นผู้ปฏิบัติงานตามแผนที่ตนเองมีส่วนร่วมในการกำหนดขึ้นตลอดจนเข้าใจถึงการกำกับติดตามผลการวิเคราะห์ถึงปัญหาอุปสรรคระหว่างการดำเนินงานตามแผน 
    หลังจากที่คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีมีการทบทวนแผนกลยุทธ์ พ.ศ.2560 -  2563 เรียบร้อยแล้วนั้น หน่วยการเงินและบัญชีของคณะได้จัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงินที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของคณะ เพื่อให้การดำเนินงานของคณะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 
    คณะได้จัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณและมีการกำหนดกรอบเวลาในการดำเนินงานไว้อย่างชัดเจน เพื่อใช้เป็นแนวทางนำไปสู่การปฏิบัติงานของบุคลากรที่เป็นผู้รับผิดชอบในการผลักดันตัวชี้วัด ซึ่งเมื่อวันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2560 สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มีมติอนุมัติแผนปฏิบัติงานประจำปี 2561 เพื่อให้ทุกหน่วยงานนำไปปฏิบัติและดำเนินการควบคุม ติดตามผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด และขับเคลื่อนตัวชี้วัดให้บรรลุค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้
   การดำเนินงานของคณะฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 มีการดำเนินงานในส่วนของงบประมาณร่วมกันกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมงเนื่องจากคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีได้แยกส่วนงานมาจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2560 

ENT-๕.๑-๑-๐๑ ตารางความเชื่อมโยงปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ประเด็นยุทธศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย และกลยุทธ์หน่วยงาน

ENT-๕.๑-๑-๐๒ แผนผัง    กระบวนการจัดทำแผนกลยุทธ์คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี

ENT-๕.๑-๑-๐๓ แผนกลยุทธ์ พ.ศ. 2560 - 2563

ENT-๕.๑-๑-๐๔ รายงานผลการจัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนการปฏิบัติงานประจำปี

ENT-๕.๑-๑-๐๕ รายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ครั้งที่ 160–12/2560 วันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2560 ณ ห้องประชุมศรีวิชัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

ENT-๕.๑-๑-๐๖ แผนปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.  2561

ENT-๕.๑-๑-๐๗ แผนกลยุทธ์ทางการเงิน พ.ศ. 2560-2563

2.

ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตรสัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอน อย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน
     ผลการดำเนินงาน
     คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มีการจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงินระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2560-2563) ซึ่งสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการด้านการเงินและงบประมาณของคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
     คณะฯ มีการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยของการจัดการเรียนการสอนในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอน ประจำปีงบประมาณ 25๖๐ 
   ตารางที่ 1  แสดงต้นทุนค่าใช้จ่ายต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร

หลักสูตร/สาขา

นักศึกษาภาคปกติ

FTES

ต้นทุนต่อหลักสูตร

สาขา/ปี

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • สาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร

 

7.50

80.50

47.75

 

 

84,960.83

148,185.85

149,615.42

 

หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม-เทคโนโลยีโยธา

 

0.61

 

27,735.24

 

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ-เทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

27.33

8.64

 

81.11

 

138,784.98

60,589.21

 

138,891.86

หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต

  • สาชาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม-เทคโนโลยีโยธา
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม-เทคโนโลยีไฟฟ้า

 

24.33

 

6.50

 

 

156,485.54

 

106,358.38

 

 

   ค่าใช้จ่ายในการพัฒนานักศึกษา ด้านบุคลากร ด้านการเรียนการสอน ในการดำเนินงานของคณะฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 มีการดำเนินงานร่วมกันกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง เนื่องจากคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แยกส่วนงานมาจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง ในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2560  ​

ENT-๕.๑-๒-๐๑ รายงานค่า FTES ปีงบประมาณ ๒๕๖๐

ENT-๕.๑-๒-๐๒ รายงานต้นทุนผลผลิต ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๐

ENT-๕.๑-๒-๐๓ คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการต้นทุนผลผลิต

ENT-๕.๑-๒-๐๔ รายงานข้อมูลสัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอน 

ENT-๕.๑-๒-๐๕ ต้นทุนค่าใช้จ่ายต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร

ENT-๕.๑-๒-๐๖ แผนกลยุทธ์ทางการเงิน พ.ศ. 2560-2563

3.

ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยที่ไม่สมารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิม
          ผลการดำเนินงาน
     ๑. คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง โดยมีคณบดีเป็นประธานกรรมการ รองคณบดีแต่ละฝ่าย หัวหน้าสาขา ผู้รับผิดชอบหลักสูตร หัวหน้าสำนักงานคณบดี เป็นคณะกรรมการและผู้เลขานุการ
      ๒. คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ดำเนินการบริหารความเสี่ยงตามคู่มือการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยทั้ง ๗ ขั้นตอนประกอบด้วย
         ๑)  กำหนดวัตถุประสงค์
         ๒)  การระบุความเสี่ยง
         ๓)  การประเมินความเสี่ยง
         ๔)  การประเมินมาตรการควบคุม
         ๕)  การบริหารจัดการความเสี่ยง
         ๖)  การรายงานผล 
         ๗)  การติดตามผลและทบทวน
     ๓. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ทำการวิเคราะห์ SWOT เพื่อทบทวนแผน กลยุทธ์และแผนปฏิบัติงานในปีการศึกษา ๒๕๖๐(งบประมาณประจำปี ๒๕๖๑) ในคราวที่จัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการทบทวนแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติงานประจำปี ๒๕๖๒ ซึ่งจากการทบทวนแผนปฏิบัติงานพบว่าคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีมีจุดอ่อนในการบริหารจัดการหลายประเด็นคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงจึงได้ระบุประเด็นความเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยง ประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยง พร้อมทั้งจัดลำดับความเสี่ยงในแต่ละด้าน พบประเด็นความเสี่ยงที่มีความเสี่ยงสูง โดยเรียงลำดับจากความเสี่ยงสูงที่สุด ๓ ลำดับ ดังนี้ 
        ๑) การบริหารหลักสูตรไม่เป็นไปตามมาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
        ๒) นักศึกษาพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา
        ๓) กระบวนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างศิษย์เก่ากับคณะฯ ยังไม่เป็นรูปธรรม
            ๔. หลังจากที่ได้กำหนดประเด็นความเสี่ยงเรียบร้อยแล้ว คณะกรรมการฯ ได้กำหนดมาตรการระบบ กลไก พร้อมทั้งเขียนเสนอโครงการ โดยระบุวัตถุประสงค์ของโครงการ งบประมาณโครงการที่เหมาะสม เพื่อให้ความเสี่ยงมีระดับที่ลดน้อยลงหรือหมดไป
พิจารณาประเด็นความเสี่ยง ๓ ประเด็น ได้แก่ นักศึกษาพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา การบริหารหลักสูตรไม่เป็นไปตามมาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และกระบวนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างศิษย์เก่ากับคณะฯ ยังไม่เป็นรูปธรรม  ดังนี้ 
๑) การบริหารหลักสูตรไม่เป็นไปตามมาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)ได้ปรับปรุงตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษาเพื่อให้สถาบันการศึกษาได้เตรียมความพร้อมรับการประเมิน และวางระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโดยการประเมินเน้นการประเมินคุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรและหากผลการประเมินหลักสูตรใดมีผลการประเมินไม่ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดอาจถูกพิจารณาไม่ได้รับการรับรองหลักสูตรโดยเฉพาะประเด็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และอาจารย์ประจำหลักสูตรมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินระดับหลักสูตรคณะฯ จึงได้ทำแผนบริหารความเสี่ยงโดยจัดโครงการเพื่อลดความเสี่ยงคือ โครงส่งเสริมบุคลากรให้มีผลงานทางวิชาการ
๒) นักศึกษาพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา

ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา

จำนวนนักศึกษาพ้นสภาพ (คน)

๑/๒๕๖๐

๑๕

๒/๒๕๕๙

๑/๒๕๕๙

๑๘

 

   คณะฯ จึงได้ทำแผนบริหารความเสี่ยงโดยจัดโครงการเพื่อลดความเสี่ยงคือ 
๑. โครงการปฐมนิเทศนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาสามารถปรับตัวเข้ากับเพื่อนและระบบการเรียนในมหาวิทยาลัยได้ นักศึกษาจะได้ทราบกฎระเบียบที่ถูกต้องของมหาวิทยาลัย ๒.โครงการปรับพื้นฐานความรู้ให้กับนักศึกษาใหม่ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานอยู่ในเกณฑ์ที่สูงขึ้น

๓) กระบวนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างศิษย์เก่ากับคณะฯ ยังไม่เป็นรูปธรรม
กระบวนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างศิษย์เก่ากับคณะฯ ยังไม่เป็นรูปธรรม การติดต่อประสานงานและการสร้างเครือข่ายความร่วมมือของศิษย์เก่ายังไม่เป็นระบบที่ชัดเจน ในการดำเนินงานของคณะมีหลายส่วนงานที่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากศิษย์เก่า เช่นศิษย์เก่ามีส่วนร่วมในการพัฒนาบัณฑิต การพัฒนาหลักสูตร รวมถึงกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ต่างๆ ของคณะ เป็นต้น

ENT-๕.๑-๓-๐๑ คำสั่งคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ ๒๘/๒๕๖๐ เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

ENT-๕.๑-๓-๐๒ รายงานสรุปผลการบริหารความเสี่ยง

ENT-๕.๑-๓-๐๓ โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการทบทวนแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติงานประจำปี ๒๕๖๒

ENT-๕.๑-๓-๐๔ รายงานการประชุมการบริหารความเสี่ยง ครั้งที่ ๑/๒๕๖๑วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๑

ENT-๕.๑-๓-๐๕ โครงการปฐมนิเทศนักศึกษา

4. บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง ๑๐ ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัดเจน
     ผลการดำเนินงาน
     คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มีการบริหารงานโดยใช้หลักธรรมาภิบาล ดังนี้
     ๑.คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี  มีกรอบในการปฏิบัติราชการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยการจัดทำแผนกลยุทธ์ พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๓ แผนกลยุทธ์ทางการเงิน  พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๓ และแผนปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๑ ซึ่งแผนดังกล่าวมีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับพันธกิจ ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์  มาตรการ  แผนงาน  มีการระบุตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายของโครงการ มีการตรวจติดตามและรายงานผลการดำเนินงานเป็นรายไตรมาส และเมื่อสิ้นปีงบประมาณ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีได้นำผลการดำเนินงานไปทบทวนและปรับแผนการปฏิบัติงานในปีงบประมาณถัดไปเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป 
     ๒.คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มีการบริหารราชการตามแนวทางการกำกับที่ดี โดยการตรวจติดตามผลการดำเนินงาน ให้เป็นไปตามตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายของโครงการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ มีการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหาร เช่น ระบบบัญชี ๓ มิติ  ระบบบุคลากร ระบบการเงิน ระบบพัสดุ ระบบสารบรรณ นอกจากนี้ยังมีเว็บไซต์ และเฟสบุ๊คของคณะฯ ที่มีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อบุคลากรและบุคคลภายนอก 
     ๓.คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีมีการให้บริการตามคู่มือและขั้นตอนการปฏิบัติงานได้ภายในระยะเวลาที่ตอบสนองความคาดหวังหรือความต้องการของนักศึกษาบุคลากรผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 
     ๔.คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีการบริหารงานตามแผนกลยุทธ์ และงบประมาณที่ได้รับการอนุมัติในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๑ ตามพันธกิจ ดังนี้
          ๑) มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่เชี่ยวชาญทักษะวิชาชีพด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีและมีความพร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงานทั้งในและต่างประเทศ
          ๒) ส่งเสริมงานวิจัยทางด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่นำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศ
          ๓) บริการทางวิชาแก่สังคม เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ทางด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี
          ๔) ส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลป วัฒนธรรม อนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยและสิ่งแวดล้อม
     ๕.คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มีกระบวนการบริหารงานอย่างโปร่งใสตรงไปตรงมา สามารถชี้แจงได้เมื่อมีข้อสงสัยและสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอันไม่ต้องห้ามของกฎหมายได้อย่างเสรีโดยประชาชนสามารถรู้ทุกขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมและสามารถตรวจสอบได้ โดยการสืบค้นข่าวสารข้อมูลได้จากเว็บไซต์คณะฯ เช่น  การจัดกิจกรรมและโครงการต่างๆ  ผลการดำเนินงาน ประกาศต่างๆ ของคณะ รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ รายงานการประชุมกรรมการประจำคณะ บันทึกการประชุมคณาจารย์คณะ และเว็บไซต์สายตรงคณบดีเพื่อเป็นช่องทางการรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ/ติชม
     ๖.คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มีการบริหารงานโดยการแต่งตั้งคณะกรรมการประจำคณะ ประกอบด้วยบุคลากรภายในคณะ ได้แก่ รองคณบดีแต่ละฝ่าย หัวหน้าสาขา และมีบุคคลภายนอก ได้แก่ คุณโกมล บัวเกตุ  ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักกำกับและอนุรักษ์พลังงาน คุณสมัคร เสือดวงหัด ตำแหน่งผู้อำนวยการแขวงทางหลวงตรัง คุณชัยนาถ กาญจนะ ตำแหน่งผู้ช่วยโทรศัพท์จังหวัดตรัง (วิศวกร ๙) ซึ่งทั้ง ๓ ท่านได้เข้าร่วมรับรู้ แสดงทัศนคติ เสนอปัญหา แก้ไขปัญหาและมีส่วนร่วมในการพัฒนาคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี  นอกจากนี้การให้บริการวิชาการแก่สังคม ผู้รับผิดชอบโครงการ มีการสำรวจความต้องการและรับฟังความคิดเห็นของชุมชน เพื่อให้การดำเนินงานเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชน
     ๗.คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีมีการบริหารงาน โดยการถ่ายโอนอำนาจการตัดสินใจ ตามโครงสร้างการบริหารงานของคณะ  โดยการแต่งตั้งรองคณบดีแต่ละฝ่าย แต่งตั้งหัวหน้าสาขา และหัวหน้างาน เพื่อมอบอำนาจและความรับผิดชอบในการตัดสินใจในการดำเนินงาน โดยมุ่งเน้นความพึงพอใจในการให้บริการแก่ นักศึกษา บุคลากร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
     ๘.คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีมีการบริหารงานโดยการใช้อำนาจตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ในการบริหารราชการด้วยความเป็นธรรมไม่เลือกปฏิบัติและคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ.๒๕๔๘ และคู่มือจรรยาบรรณวิชาชีพ 
     ๙.บุคลากร ได้รับการปฏิบัติและได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกัน โดยบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนทุกคนได้รับการพัฒนาอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๑ ดังประกาศหลักเกณฑ์การสนับสนุนบุคลากรเพื่อไปอบรม สัมมนา ในประเทศ พ.ศ.๒๕๕๕ และประกาศใน พ.ศ.๒๕๖๐
     ๑๐.การบริหารงานของคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ใช้หลักฉันทามติ  โดยการรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะและหาข้อสรุปผ่านการประชุมคณาจารย์คณะการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ และการประชุมคณะกรรมการประจำคณะ

ENT-๕.๑-๔-๐๑
แผนกลยุทธ์การพัฒนาคณะวิศวกรรมศาสตร์แลเทคโนโลยีพ.ศ.๒๕๖๐- ๒๕๖๓

ENT-๕.๑-๔-๐๒
แผนกลยุทธ์ทางการเงิน พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๓

ENT-๕.๑-๔-๐๓
แผนปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๑

ENT-๕.๑-๔-๐๔ เป้าหมายคุณภาพ (KPI) ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐

ENT-๕.๑-๔-๐๕ สรุปผลการดำเนินโครงการ ประจำปีงบประมาณ  พ.ศ.๒๕๖๑

ENT-๕.๑-๔-๐๖
เว็บไซต์คณะ

ENT-๕.๑-๔-๐๗
คู่มือการปฏิบัติงานบุคลากรสายสนับสนุน

ENT-๕.๑-๔-๐๘ สรุปความพึงพอใจของผู้รับบริการของคณะ

ENT-๕.๑-๔-๐๙
ขออนุมัติงบประมาณเงินรายจ่าย และเงินรายได้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐

ENT-๕.๑-๔-๑๐ 
รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะ

ENT-๕.๑-๔-๑๑
บันทึกการประชุมคณาจารย์คณะ

ENT-๕.๑-๔-๑๒ คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประจำคณะ

ENT-๕.๑-๔-๑๓ โครงสร้างการบริหารงานคณะ

ENT-๕.๑-๔-๑๔ คำสั่งแต่งตั้งหัวหน้าสาขา

ENT-๕.๑-๔-๑๕ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. ๒๕๔๘

ENT-๕.๑-๔-๑๖ คู่มือจรรยาบรรณวิชาชีพ

ENT-๕.๑-๔-๑๗ สรุปรายงานบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนทุกคนได้รับการพัฒนา อย่างน้อยปีละ
๑ ครั้ง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐

5. ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
     ผลการดำเนินงาน
     คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ดำเนินการจัดการความรู้ด้านการวิจัย และด้านการผลิตบัณฑิต (เทคนิควิธีการสอนที่ดี) คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๖๑ โดยได้เรียนเชิญนักวิจัยผู้มีประสบการณ์และมีความสำเร็จมาเล่าประสบการณ์ให้กับนักวิจัยผู้มีประสบการณ์และมีความสำเร็จมาเล่าประสบการณ์ให้กับนักวิจัยรับทราบ โดยคณะฯ ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ปภัศร์ชกรณ์  อารีย์กุล มาเป็นวิทยากรพี่เลี้ยงที่จะมาสอนเทคนิคการบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อให้มีคุณภาพและเสร็จทันเวลา และ ผศ.ชัยวัฒน์ สากุล ได้นำเสนอเทคนิควิธีการสอนที่ดี มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้คณาจารย์รับทราบ 
    และเมื่อคณะฯ ได้แนวปฏิบัติที่ดีของแต่ละด้านแล้วก็นำแนวปฏิบัติที่ดีนั้นเผยแพร่โดยเผยแพร่ผ่านทางเว็ปไซต์ของคณะฯ เพื่อให้บุคคลทั่วไปสามารถนำแนวปฏิบัตินี้มาปรับใช้ได้  

ENT-๕.๑-๕-๐๑ คำสั่งคณะกรรมการดำเนินการจัดการความรู้ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี 

ENT-๕.๑-๕-๐๒ รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ ๒/๒๕๖๑

ENT-๕.๑-๕-๐๓ สรุปองค์ความรู้ด้านการผลิตบัณฑิต

ENT-๕.๑-๕-๐๔ สรุปองค์ความรู้ด้านการวิจัย

6. การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน
     ผลการดำเนินงาน
     คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ได้มีการจัดทำแผนการบริหารและพัฒนาบุคลากรทั้งด้านสายวิชาการและสายสนับสนุนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อเป็นการพัฒนาทางด้านวิชาการ ด้านการวิจัยและบริการวิชาการ และเพิ่มศักยภาพของสายสนับสนุนตามภาระงานที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาบุคลากรของคณะ โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารคณะให้มีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมการพัฒนาและติดตามผลตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน ให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด และสนับสนุนให้บุคลากรทุกคนได้พัฒนาตนเอง ซึ่งบุคลากรสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับการพัฒนาใช้ในการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการวัดผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ตลอดจนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

ENT-๕.๑-๖-๐๑ คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารคณะ

ENT-๕.๑-๖-๐๒ รายงานผลการดำเนินงานตามไตรมาส

ENT-๕.๑-๖-๐๓ แผนการบริหารและพัฒนาบุคลากร ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐

ENT-๕.๑-๖-๐๔ การสนับสนุนการพัฒนาตนเอง

7.

ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของคณะที่ได้ปรับให้การดำเนินงานด้านประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานคณะตามปกติที่ประกอบด้วยการควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ
     ผลการดำเนินงาน
๑) การควบคุมคุณภาพ
     คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี  ได้ดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามนโยบายของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย และสอดคล้อง  กับพันธกิจของคณะฯ ซึ่งการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา คณะฯ ได้ดำเนินการตามกรอบและองค์ประกอบการประกันคุณภาพการศึกษาของ สกอ. 
     ซึ่งระบบดังกล่าวมีการกำกับ ติดตามการดำเนินงานในระดับหลักสูตร ด้วยองค์ประกอบ ๖ องค์ประกอบของ สกอ.ดังนี้
     องค์ประกอบที่ ๑: การกำกับมาตรฐาน 
     องค์ประกอบที่ ๒: บัณฑิต 
     องค์ประกอบที่ ๓: นักศึกษา 
     องค์ประกอบที่ ๔: อาจารย์ 
     องค์ประกอบที่ ๕: หลักสูตร การเรียนการสอน 
                            การประเมินผู้เรียน 
     องค์ประกอบที่ ๖: สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
     รวมทั้งหมด ๑๔ ตัวบ่งชี้ ทั้งนี้ได้กำหนดให้อาจารย์ประจำหลักสูตร/ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เป็นผู้ทำหน้าที่กำกับ ติดตามและประเมินผลให้เป็นไปตามองค์ประกอบตัวบ่งชี้คุณภาพที่กำหนด
      ระดับคณะ มีการดำเนินการแต่งตั้งคำสั่งคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ ๓๓/๒๕๖๐เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา-๒๕๖๐-ลงวันที่-๓๐พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ซึ่งมีการมอบหมายผู้รับผิดชอบตัวบ่งชี้ตามเป้าหมายคุณภาพ (KPI) ปีการศึกษา ๒๕๖๐ มีการกำกับติดตามการดำเนินงานด้วยองค์ประกอบ ๕ องค์ประกอบ ของ สกอ. ทั้งนี้คณะฯ ได้กำหนดให้รองคณบดีแต่ละฝ่าย เป็นผู้ทำหน้าที่กำกับ ติดตามและประเมินผลให้เป็นไปตามองค์ประกอบตัวบ่งชี้คุณภาพ ที่กำหนด โดย ดังนี้
  องค์ประกอบที่ ๑: การผลิตบัณฑิต 
ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๑และตัวบ่งชี้ที่ ๑.๔ รองคณบดีฝ่ายวิชาการฯ  
ตัวบ่งชี้ที่๑.๒และตัวบ่งชี้ที่ ๑.๓ รองคณบดีฝ่ายบริหารฯ
ตัวบ่งชี้ที่๑.๕และตัวบ่งชี้ที่ ๑.๖ รองคณบดีฝ่ายพัฒนาฯ                
  องค์ประกอบที่ ๒: การวิจัย
ตัวบ่งชี้ที่๒.๑ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๒ และตัวบ่งชี้ที่ ๒.๓ รองคณบดีฝ่ายวิชาการฯ
  องค์ประกอบที่ ๓: การบริการวิชาการ 
ตัวบ่งชี้ที่ ๓.๑ รองคณบดีฝ่ายวิชาการฯ
  องค์ประกอบที่ ๔: การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
ตัวบ่งชี้ที่ ๔.๑ รองคณบดีฝ่ายพัฒนาฯ                
  องค์ประกอบที่ ๕: การบริหารจัดการ
ตัวบ่งชี้ที่ ๕.๑ (ข้อที่ ๑,๒,๓,๔,๖) รองคณบดีฝ่ายบริหารฯ
                 (ข้อที่ ๕,๗) รองคณบดีฝ่ายวิชาการฯ  
     รวมทั้งหมด ๑๓ ตัวบ่งชี้ โดยให้มีการดำเนินงานครอบคลุมทุกภาคส่วนและให้การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

๒) การตรวจสอบคุณภาพ
     ในปีการศึกษา ๒๕๖๐ หน่วยประกันคุณภาพคณะฯ ได้ดำเนินการจัดทำแผนการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ครบทุกกิจกรรมของหน่วยประกันคุณภาพ  พร้อมทั้งขั้นตอนการปฏิบัติงานการจัดทำรายงาน การประเมินตนเอง (SAR) ทั้งระดับหลักสูตรและระดับคณะ โดยนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๐ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ เพื่อแจ้งให้บุคลากรของคณะฯรับทราบถึงกระบวนการการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของคณะฯและสามารถดำเนินงานไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้มีความสอดคล้องกับแผนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยฯเพื่อการติดตามและตรวจสอบคุณภาพ 
   ตามแผนการดำเนินงานประจำปีทั้งในระดับหลักสูตรและในระดับคณะนั้นสอดคล้องกับระบบและกลไก   ดังกล่าว ทั้งนี้คณะมีการกำกับการายงานผลการดำเนินงานโดยกำหนดให้ทุกหลักสูตรของคณะโดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร/อาจารย์ประจำหลักสูตรเป็นผู้รับผิดชอบและดำเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ การจัดทำหลักสูตร (มคอ.๒) การดำเนินการส่งแบบรายงาน มคอ.๓-๗ ตามกรอบระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยฯกำหนด โดยการรายงานผลการการดำเนินงานหลักสูตร (มคอ.๗) ของทุกหลักสูตร ทางหน่วยประกันคุณภาพ ได้กำหนดให้มีการรายงานการประเมินตนเอง รอบ ๖ เดือน ๙ เดือน และ ๑๒ เดือน โดยการทำหนังสือบันทึกข้อความแจ้งให้ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และผู้รับผิดชอบตัวบ่งชี้ระดับคณะ ให้ดำเนินการรายงานให้ทันภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งทางหลักสูตรจะจัดส่งข้อมูลมายังหน่วยประกันฯ และหน่วยประกันฯ จะทำการพิจารณาและรวบรวมรายงานส่งไปยังกองวิเทศสัมพันธ์และการประกันคุณภาพ และในส่วนของคณะฯ หน่วยประกันฯ ก็ทำการรวบรวมผลการดำเนินงานของคณะฯ แล้วรายงานผลการดำเนินงานไปยังกองวิเทศสัมพันธ์และการประกันคุณภาพ เพื่อดำเนินการในขั้นตอนต่อไป และหน่วยประกันได้นำผลการดำเนินงาน รอบ ๖ เดือน ในระดับหลักสูตรและระดับคณะ เข้าที่ประชุมกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๑ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๑ และ  รอบ ๙ เดือน ในระดับหลักสูตรและระดับคณะ เข้าที่ประชุมกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๑เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๖๑
๓) การประเมินคุณภาพ
     ตามแผนการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาและปฏิทินการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐ มีการกำหนดการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรและระดับคณะภายในตั้งแต่ ๑ มิถุนายน - ๓ สิงหาคม ๒๕๖๑ ซึ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีได้ดำเนินการตรวจประเมินระดับหลักสูตรไป จำนวน ๔ หลักสูตร ตั้งแต่วันที่ ๑๕-๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๑ และระดับคณะกำหนดรับการตรวจประเมิน ในวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๑ โดยดำเนินการตามระยะเวลาที่กำหนดอย่างครบถ้วน เป็นไปตามแนวทางที่กำหนดในระบบและกลไก และประเมินผ่านตามเป้าหมายคุณภาพที่กำหนดขึ้น     
     หลังจากตรวจประเมินฯ เสร็จสิ้น ระดับหลักสูตรและระดับคณะ ก็จะดำเนินการนำข้อมูลจากการรายงานการประเมินตนเอง  เข้าสู่ระบบฐานข้อมูล CHE QA Online ๓D ตามรูปแบบที่ สกอ. กำหนด ซึ่งได้นำผลการประเมินคุณภาพและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในมาวิเคราะห์ทบทวนวางแผนและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของหลักสูตรและคณะให้บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ต่อไป

ENT-๕.๑-๗-๐๑ คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี

ENT-๕.๑-๗-๐๒ นโยบายคุณภาพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

ENT-๕.๑-๗-๐๓ คำสั่งคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ ๓๓/๒๕๖๐เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา-๒๕๖๐-ลงวันที่-๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

ENT-๕.๑-๗-๐๔ เป้าหมายคุณภาพ(KPI) ปีการศึกษา ๒๕๖๐

ENT-๕.๑-๗-๐๕ หนังสือขออนุมัติมอบหมายผู้รับผิดชอบตัวบ่งชี้ตามเป้าหมายคุณภาพ (KPI) ปีการศึกษา ๒๕๖๐

ENT-๕.๑-๗-๐๖ แผนการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐

ENT-๕.๑-๗-๐๗ ขั้นตอนการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง (SAR) ระดับหลักสูตร และระดับคณะ

ENT-๕.๑-๗-๐๘ ปฏิทินการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ๒๕๖๐

ENT-๕.๑-๗-๐๙ รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะ-ครั้งที่ ๒/๒๕๖๐ วันศุกร์ที่-๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

ENT-๕.๑-๗-๑๐ หนังสือบันทึกข้อความที่ ศธ๐๕๘๔.๓๓/๑๔๕ ลงวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๐ เรื่อง รายงานการประเมินตนเอง (SAR)ระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐-(รอบ ๖ เดือน)

ENT-๕.๑-๗-๑๑ หนังสือบันทึกข้อความที่ศธ๐๕๘๔.๓๓/๑๕๕ ลงวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๐ เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายคุณภาพ(KPI) ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐ (รอบ ๖ เดือน) ระดับคณะ 

ENT-๕.๑-๗-๑๒ รายงานการประชุมกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๑ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๑ 

ENT-๕.๑-๗-๑๓ 
หนังสือบันทึกข้อความที่ศธ๐๕๘๔.๓๓/๒๖๔ ลงวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๑ เรื่อง รายงานการประเมินตนเอง (SAR) ระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐ (รอบ ๙ เดือน)

ENT-๕.๑-๗-๑๔ 
หนังสือบันทึกข้อความที่ศธ๐๕๘๔.๓๓/๒๖๔ ลงวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๑
เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายคุณภาพ (KPI) ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐ (รอบ ๙ เดือน) ระดับคณะ 
ENT-๕.๑-๗-๑๕ รายงานการประชุมกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๑ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๖๑

ENT-๕.๑-๗-๑๖
หนังสือบันทึกข้อความที่ ศธ๐๕๘๔.๓๓/๖๓๗
ลงวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๖๑ เรื่อง รายงานการประเมินตนเอง (SAR) ระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐ (รอบ ๑๒ เดือน)

ENT-๕.๑-๗-๑๗
หนังสือบันทึกข้อความที่
ศธ ๐๕๘๔.๓๓/๖๓๖
ลงวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๖๑ เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายคุณภาพ (KPI) ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐    (รอบ ๑๒ เดือน) ระดับคณะ 

ENT-๕.๑-๗-๑๘
ระบบฐานข้อมูล CHE QA Online ๓D