1. ชื่อหลักสูตร
ชื่อภาษาไทย : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร
ชื่อภาษาอังกฤษ : Bachelor of Engineering Program in Computer and Communication Engineering
2. ชื่อปริญญา
ชื่อเต็มภาษาไทย : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรม คอมพิวเตอร์และการสื่อสาร)
ชื่อย่อภาษาไทย : วศ.บ. (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Bachelor of Engineering (Computer and Communication Engineering)
ชื่อย่อภาษาไทย : B.Eng. (Computer and Communication Engineering)
3. จำนวนหน่วยกิจที่เรียนตลอดหลักสูตร
ไม่น้อยกว่า 142 หน่วยกิต
4. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
5.1 ปรัชญา
ผลิตบัณฑิตทางด้านวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร ที่มีความรู้เชี่ยวชาญ ทั้งทฤษฎีและ ปฏิบัติ มุ่งเน้นในการเป็นบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณในสายวิชาชีพ
5.2 ความสำคัญ
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นสาขาที่ ตอบสนองความเปลี่ยนแปลงใน สังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี โดยผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถดด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัย เป็นบัณฑิตนักปฏิบัติ ที่มีความใฝ่รู้ มีความรู้ความสามารถรองรับกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นวิศวกรเชี่ยวชาญดด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และระบบการสื่อสารข้อมูล ซึ่งเป็นการบูรณาการองค์ความรู้ด้าน วิศวกรรมร่วมกับเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารในยุคปัจจุบันและอนาคตเข้าด้วยกัน อีกทั้งยังมุ่งเน้น ส่งเสริมดด้านคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพแก่บัณฑิต และบริการวิชาการแก่สังคม เพื่อ เป็นกลไกหนึ่งในการพัฒนาประเทศต่อไป
5. ปรัชญาและความสำคัญ
- ผลิตบัณฑิตให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีสัมมาคารวะ รู้จักกาลเทศะ และทําหน้าที่เป็น พลเมืองดี รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ และต่อสังคมและปฏิบัติตนภายใต้จรรยาบรรณวิชาชีพด้วย ความซื่อสัตย์สุจริต และเสียสละ
- ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ดด้านวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสารทั้งภาคทฤษฎีและ ปฏิบัติ สามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์ดัง กล่าวอย่างเหมาะสมเพื่อการประกอบวิชาชีพของตน และ การศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นไปได้
- ผลิตบัณฑิตให้มีความใฝ่รู้ในองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนา อย่างต่อเนื่อง สามารถพัฒนาองค์ ความรู้ที่ตนมีอยู่ให้สูงขึ้นไป เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนางาน พัฒนา สังคมและประเทศชาติ
- ผลิตบัณฑิตให้มีมนุษยสัมพันธ์และมีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีทักษะ ในดด้านการทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถบริหารจัดการการทำงานได้อย่างเหมาะสม และเป็นผู้มี ทัศนคติที่ดีในการทำงาน
- ผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร และใช้ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ และศัพท์เทคนิค ในการติดต่อสื่อสาร รวมถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้เป็นอย่างดี
6. วัตถุประสงค์
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแผนการเรียนวิทยาศาสตร์- คณิตศาสตร์หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์สาขาวิชาไฟฟ้า หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือ
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเทคโนโลยี สารสนเทศ สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาโทรคมนาคมสาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์สาขาวิชา ไฟฟ้า หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยวิธีเทียบโอนผลการเรียน
- ผู้เข้าศึกษาทั้งข้อ 2.2.1 และ 2.2.2 ต้องมีคุณสมบัติอื่นๆ ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557
7. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
- โดยวิธีการรับตรงในระบบโควตา
- โดยวิธีการสอบคัดเลือกของมหาวิทยาลัย
- โดยวิธีการสอบคัดเลือกผ่านกลุ่ม 9 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
- โดยวิธีการสอบคัดเลือกผ่านสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
8.การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
- โดยวิธีการรับตรงในระบบโควตา
- โดยวิธีการสอบคัดเลือกของมหาวิทยาลัย
- โดยวิธีการสอบคัดเลือกผ่านกลุ่ม 9 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
- โดยวิธีการสอบคัดเลือกผ่านสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา