1. ชื่อหลักสูตร

ชื่อภาษาไทย              :  หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
ชื่อภาษาอังกฤษ          :  Bachelor of Science Program in Computer Technology   

2. ชื่อปริญญา

ชื่อเต็มภาษาไทย        : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์)
ชื่อย่อภาษาไทย         : วท.บ. (เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์)​
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ    : Bachelor of Science (Computer Technology)​
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ     : B.Sc. (Computer Technology)

3. จำนวนหน่วยกิจที่เรียนตลอดหลักสูตร

​ไม่น้อยกว่า 135 หน่วยกิต 

4. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • นักวิชาการคอมพิวเตอร์
  • นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ
  • นักเขียนโปรแกรม ​
  • ผู้ดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  • นักออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์
  • เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์
  • นักผลิตภาพเคลื่อนไหว
  • นักออกแบบสื่อ
  • ประกอบอาชีพอิสระด้านคอมพิวเตอร์
  • นักวิชาชีพในสถานประกอบการภาคธุรกิจอุตสาหกรรมในสถานประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

5. ปรัชญาและความสำคัญ

5.1 ปรัชญา

ผลิตบัณฑิตด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ที่มีมาตรฐานวิชาชีพและมีความเชี่ยวชาญทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ เป็นบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณในสายวิชาชีพ

5.2 ความสำคัญ

หลักสูตรนี้สามารถตอบสนองการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ของประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  มีเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อันจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาประเทศ การแข่งขันด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  เป็นหลักสูตรที่ผลิตนักเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เพื่อแก้ปัญหาความขาดแคลนแรงงานด้านคอมพิวเตอร์ ที่มีความรอบรู้ทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ที่สามารถช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศได้เป็นอย่างดี

6. วัตถุประสงค์

  • มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพและความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม ยึดมั่นในค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ​
  • มีความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้เพื่อการประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
  • มีความสามารถในการศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์และสามารถเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา  โดยใช้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเผยแพร่สู่สาธารณชน
  • มีมนุษยสัมพันธ์ และมีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีทักษะในด้านการทำงานเป็นทีม สามารถบริหารจัดการการทำงานได้อย่างเหมาะสม และมีทัศนคติที่ดีในการทำงาน
  • มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร ใช้ศัพท์ทางเทคนิคในการติดต่อสื่อสาร รวมถึงการใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

7. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

8.การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา