1. ชื่อหลักสูตร
ชื่อภาษาไทย : หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
ชื่อเต็มภาษาไทย : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมไฟฟ้า)
3. จำนวนหน่วยกิจที่เรียนตลอดหลักสูตร
ไม่น้อยกว่า 147 หน่วยกิต
4. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- วิศวกรไฟฟ้า/วิศวกรพลังงานไฟฟ้าในภาครัฐและเอกชน
- ผู้รับผิดชอบ และผู้ช่วยผู้ตรวจสอบด้านพลังงาน
- นักวิจัยในสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและสาขาวิชาพลังงาน
- รับราชการในหน่วยงานของรัฐ
- ธุรกิจส่วนตัวที่เกี่ยวกับวิศวกรรมไฟฟ้า
5. ปรัชญาและความสำคัญ
5.1 ปรัชญา
ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้า ทั้งด้านทฤษฎีและทักษะปฏิบัติที่มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ
5.2 ความสำคัญ
หลักสูตรนี้มุ่งให้การศึกษาทางสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า โดยมุ่งเน้นทางด้านพลังงานไฟฟ้า เพื่อให้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ สามารถวิเคราะห์ ทำงานและออกแบบระบบต่างๆ ทางด้านวิศวกรรม และการประยุกต์เทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและทางด้านพลังงาน เพื่อใช้งานด้านอุตสาหกรรม ธุรกิจ การสื่อสาร การเกษตรและอื่นๆ ได้ มีความคิดสร้างสรรค์อย่างมีระบบ สามารถนำองค์ความรู้ไปบูรณาการและประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งสามารถสร้างงานพัฒนาและวิจัยในระดับที่สูงยิ่งขึ้น เพื่อก่อให้เกิดความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ อันถือเป็นวิวัฒนาการที่ยั่งยืนและไม่หยุดยั้ง ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ
6. วัตถุประสงค์
- ผลิตบัณฑิตให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีสัมมาคารวะ รู้จักกาลเทศะ ทำหน้าที่เป็นพลเมืองดี รับผิดชอบต่อตนเอง สังคม วิชาชีพ และปฏิบัติตนภายใต้จรรยาบรรณวิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และเสียสละ
- ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ทางวิศวกรรมไฟฟ้า ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์ดังกล่าวอย่างเหมาะสมเพื่อการประกอบวิชาชีพของตน และการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นไปได้
- ผลิตบัณฑิตให้มีความใฝ่รู้ในการพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง สามารถพัฒนาองค์ความรู้ที่ตนมีอยู่ให้สูงขึ้นไป เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนางาน พัฒนาสังคมและประเทศชาติและให้คิดเป็น ทำเป็น มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถเลือกวิธีแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
- ผลิตบัณฑิตให้มีมนุษยสัมพันธ์และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น มีทักษะในด้านการทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถบริหารจัดการการทำงานได้อย่างเหมาะสม และเป็นผู้มีทัศนคติที่ดีในการทำงาน
- ผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร และใช้ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศและศัพท์เทคนิคในการติดต่อสื่อสาร รวมถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้เป็นอย่างดี
7. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาช่างไฟฟ้า สาขาวิชาไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาไฟฟ้าโทรคมนาคม สาขาวิชาเครื่องมือวัด หรือที่สัมพันธ์กับสาขาไฟฟ้า หรือมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ หรือ
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาช่างไฟฟ้า สาขาวิชาไฟฟ้าอุตสาหกรรม สาขาวิชาเครื่องมือวัด หรือที่สัมพันธ์กับสาขาไฟฟ้า โดยวิธีเทียบโอนผลการเรียน
- ผู้เข้าศึกษาทั้งข้อ 2.2.1 และ 2.2.2 ต้องมีคุณสมบัติอื่นๆ ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557
8. การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
- โดยวิธีการรับตรงในระบบโควตา
- โดยวิธีการสอบคัดเลือกของมหาวิทยาลัย
- โดยวิธีการสอบคัดเลือกผ่านกลุ่ม 9 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
- โดยวิธีการสอบคัดเลือกผ่านสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา