• ภาษาไทย
    • English

ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 : การบริการวิชาการแก่สังคม

ข้อ การดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐาน หมายเลขและรายการหลักฐาน
1.

จัดทำแผนการบริการวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จในระดับแผนและโครงการบริการวิชาการแก่สังคมและเสนอกรรมการประจำคณะ เพื่อพิจารณาอนุมัติ
     ผลการดำเนินงาน
     คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มีการกำหนดชุมชนกลุ่มเป้าหมายโดยเลือกชุมชนในอำเภอกันตัง คือชุมชนตำบลบางหมาก โดยคณะกรรมการทั้งหมดได้เข้าร่วมเป็นกรรมการทำหน้าที่ในการบริการวิชาการแก่สังคม โดยกำหนดชุมชนเพื่อดำเนินการให้ความรู้และการบริการวิชาการแก่ชุมชน และหน่วยบริการวิชาการได้ดำเนินการจัดทำแผนการบริการประจำปีที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคมและนำแผนบริการวิชาการประจำปี เสนอต่อคณะกรรมการประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อดำเนินกิจกรรมการให้บริการวิชาการตามแผนการดำเนินงาน โดยร่วมมือกันระหว่างอาจารย์ นักศึกษา และชุมชน

   ๑. คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี โดยคณะกรรมการบริการวิชาการ ได้จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑ และแผนงานบริการวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง โดยได้นำข้อเสนอแนะจากการจัดโครงการบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐ มาปรับปรุงและแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดโครงการบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑ พร้อมทั้งกำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จทั้งในระดับแผนงานและโครงการบริการวิชาการแก่สังคมและเสนอที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบและอนุมัติให้ดำเนินการจัดโครงการบริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนดไว้

   ๒. จัดทำแผนการดำเนินโครงการที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม ได้แก่
        ๒.๑ โครงการบริการวิชาการเพื่อสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับชุมชนตำบลบางหมาก จังหวัดตรัง
         กิจกรรมย่อยที่ ๑ การให้บริการทางวิชาการ การออกแบบและสร้างเครื่องผ่าลูกจาก
         กิจกรรมย่อยที่ ๒ การออกแบบและสร้างระบบสำหรับอบก้านจากโดยใช้พลังงานความร้อนร่วมจากพลังงานแสงอาทิตย์และกำมะถัน
         กิจกรรมย่อยที่ ๓ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประชาสัมพันธ์และเพิ่มช่องทางการขายผลิตภัณฑ์ชุมชน
         กิจกรรมย่อยที่ ๔ โครงการเสวนาสรุปผลการดำเนินงานและพัฒนาแผนการดำเนินงาน

   ๓. ดำเนินกิจกรรมการให้บริการวิชาการเป็นไปตามแผนการดำเนินงาน โดยร่วมกันระหว่างอาจารย์ นักศึกษาในสาขาและชุมชน ซึ่งได้ติดตามสรุปผลโครงการบริการวิชาการและรายงานต่อคณะกรรมการบริการวิชาการของหน่วยงาน

   ๔. คณะกรรมการร่วมกับตัวแทนชุมชนประเมินผลการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑ ว่ามีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จในระดับแผน เนื่องจากมีการดำเนินงานตามระบบและกลไกที่วางไว้เป็นอย่างดี

 

ENT-๓.๑-๑-๐๑ คำสั่งคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ ๒๓/๒๕๖๐ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานบริการวิชาการ 

ENT-๓.๑-๑-๐๒ รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ ๑/๒๕๖๑

ENT-๓.๑-๑-๐๓ แผนการปฏิบัติงานวิชาการและวิจัย (งานบริการทางวิชาการแก่สังคมประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑)

ENT-๓.๑-๑-๐๔ รายงานผลการดำเนินโครงการกิจกรรมย่อย    ที่-๑-การให้บริการวิชาการ ออกแบบเครื่องมือสำหรับเหลาก้านจาก

ENT-๓.๑-๑-๐๕ รายงานผล การดำเนินโครงการกิจกรรมย่อยที่ ๓ การอบรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประชาสัมพันธ์และเพิ่มช่องทางการขายผลิตภัณฑ์ชุมชน

 

2

โครงการบริการวิชาการแก่สังคมตามแผนมีการจัดทำแผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการเพื่อให้เกิดผลต่อการพัฒนานักศึกษา ชุมชน หรือสังคม
     ผลการดำเนินงาน
     คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ได้กำหนดชุมชนเป้าหมายดำเนินการจัดทำแผนการบริการประจำปีที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและดำเนินการจัดทำแผนการใช้ประโยชน์จากการบริการทางวิชาการเพื่อการพัฒนาด้านนักศึกษา ชุมชนและสังคมและนำมาบูรณาการกับการเรียนการสอนและการวิจัยในการดำเนินโครงการบริการวิชาการของแต่ละโครงการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มีโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑จำนวน ๑ โครงการ โดยโครงการทั้งหมดได้วางแผนสำหรับการใช้ประโยชน์เพื่อให้เกิดผลต่อการพัฒนานักศึกษา ชุมชน หรือสังคม ดังนี้

 

    ชื่อโครงการ

แผนการใช้ประโยชน์

พัฒนานัก  ศึกษา

พัฒนาชุมชน สังคม

โครงการบริการวิชาการเพื่อสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับชุมชนตำบลบางหมาก จังหวัดตรัง

/

/

กิจกรรมย่อยที่ ๑ การให้บริการทางวิชาการ ออกแบบเครื่องมือสำหรับเหลาก้านจาก​ / /
กิจกรรมย่อยที่ ๒ การออกแบบและสร้างระบบสำหรับอบก้านจากโดยใช้พลังงานความร้อนร่วมจากพลังงานแสงอาทิตย์และกำมะถัน​ / /
กิจกรรมย่อยที่ ๓ การอบรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประชาสัมพันธ์และเพิ่มช่องทางการขายผลิตภัณฑ์ชุมชน​ / /

กิจกรรมย่อยที่ ๔ การเสวนาสรุปผลการดำเนินงานและพัฒนาแผนการดำเนินงาน 
(โครงการยังไม่แล้วเสร็จ)​

/

/

 

      นอกจากนี้ ยังมีการบูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ และการวิจัยในแต่ละโครงการ​

(หลักฐานตามตัวบ่งชี้ ๓.๑ ข้อที่ ๑)

ENT-๓.๑-๑-๐๒ รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ ๑/๒๕๖๑

ENT-๓.๑-๑-๐๔ รายงานผลการดำเนินโครงการกิจกรรมย่อย    ที่๑การให้บริการวิชาการ ออกแบบเครื่องมือสำหรับเหลาก้านจาก

ENT-๓.๑-๑-๐๕ รายงานผล การดำเนินโครงการกิจกรรมย่อยที่๓การอบรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประชาสัมพันธ์และเพิ่มช่องทางการขายผลิตภัณฑ์ชุมชน

ENT-๓.๑-๒-๐๑ รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ ๒/๒๕๖๑ 

3.

โครงการบริการวิชาการแก่สังคมในข้อ ๑ อย่างน้อยต้องมีโครงการที่บริการแบบให้เปล่า
     ผลการดำเนินงาน
    คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ได้มีการดำเนิน โครงการบริการวิชาการแก่สังคมแบบให้เปล่า ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑ จำนวน ๑ โครงการ ดังนี้
     ๒.๑ โครงการบริการวิชาการเพื่อสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับชุมชนตำบลบางหมาก จังหวัดตรัง
       กิจกรรมย่อยที่ ๑ การให้บริการทางวิชาการ ออกแบบเครื่องมือสำหรับเหลาก้านจาก
       กิจกรรมย่อยที่ ๒ การออกแบบและสร้างระบบสำหรับอบก้านจากโดยใช้พลังงานความร้อนร่วมจากพลังงานแสงอาทิตย์และกำมะถัน
       กิจกรรมย่อยที่ ๓ การอบรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประชาสัมพันธ์และเพิ่มช่องทางการขายผลิตภัณฑ์ชุมชน
       กิจกรรมย่อยที่ ๔ การเสวนาสรุปผลการดำเนินงานและพัฒนาแผนการดำเนินงาน

 

(หลักฐานตามตัวบ่งชี้๓.๑  ข้อที่ ๑)

ENT-๓.๑-๓-๐๑ รายงานผลการดำเนินโครงการกิจกรรมย่อย    ที่๑การให้บริการวิชาการ ออกแบบเครื่องมือสำหรับเหลาก้านจาก

ENT-๓.๑-๓-๐๒ รายงานผลการดำเนินโครงการกิจกรรมย่อยที่ ๓ การอบรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประชาสัมพันธ์และเพิ่มช่องทางการขายผลิตภัณฑ์ชุมชน

 

4.

ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการบริการวิชาการแก่สังคมในข้อ ๑ และนำเสนอกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา
     ผลการดำเนินงาน
     คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ได้มีการดำเนินโครงการบริการวิชาการในปีการศึกษา ๒๕๖๐ เป็นที่เรียบร้อยจำนวน ๒ กิจกรรมย่อย ดังนี้
     กิจกรรมย่อยที่ ๑ การให้บริการทางวิชาการ ออกแบบเครื่องมือสำหรับเหลาก้านจาก
    กิจกรรมย่อยที่ ๓ การอบรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประชาสัมพันธ์และเพิ่มช่องทางการขายผลิตภัณฑ์ชุมชน
ซึ่งเมื่อดำเนินโครงการ คณะฯ ได้มีการดำเนินการตามกระบวนการต่างๆ ดังนี้
    ๑. ประชุมคณะกรรมการแต่ละโครงการเพื่อกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
    ๒. การดำเนินโครงการบริการวิชาการตามตัวบ่งชี้ของแต่ละโครงการ
    ๓. ประเมินโครงการบริการวิชาการ (บรก ๐๓), ติดตามและประเมินผลการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ (บรก ๐๔), รายงานผลโครงการบริการวิชาการแก่สังคม (บรก ๐๕), ประเมินผลสำเร็จของการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคม (บรก ๐๖)
     ๔. นำผลประเมินความสำเร็จของการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมเข้าที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะ

 

(หลักฐานตามตัวบ่งชี้ ๓.๑ ข้อที่ ๑)

ENT-๓.๑-๑-๐๔ รายงานผลการดำเนินโครงการกิจกรรมย่อยที่ ๑ การให้บริการวิชาการ ออกแบบเครื่องมือสำหรับเหลาก้านจาก

ENT-๓.๑-๑-๐๕ รายงานผลการดำเนินโครงการกิจกรรมย่อยที่ ๓ การอบรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประชาสัมพันธ์และเพิ่มช่องทางการขายผลิตภัณฑ์ชุมชน

(หลักฐานตามตัวบ่งชี้ ๓.๑ ข้อที่ 2)

ENT-๓.๑-๒-๐๑ รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ ๒/๒๕๖

5.

นำผลการประเมินตามข้อ ๔  มาปรับปรุงแผนหรือพัฒนาการให้บริการวิชาการสังคม
     ผลการดำเนินงาน
    จากการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ ได้นำผลการประเมินเสนอที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ทราบ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา/ปรับปรุง/ดำเนินการให้สอดคล้องกับความต้องการเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป ผลการประเมินและข้อเสนอแนะด้านบริการวิชาการ
    จากการดำเนินโครงการบริการวิชาการในปีงบประมาณ ๒๕๖๑ พบว่า ชุมชนได้รับความรู้และพัฒนาทักษะในด้านๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการ แต่ชุมชนมีข้อจำกัดในเรื่องของทักษะการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศที่ยังไม่ค่อยแข็งแรง ซึ่งคณะฯ จะให้การช่วยเหลือสนับสนุนต่อไป

 

ENT-๓.๑-๕-๐๑ รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ ๒/๒๕๖๑

ENT-๓.๑-๕-๐๒ แบบประเมินการดำเนินโครงการบริการวิชาการ (บรก ๐๓)

ENT-๓.๑-๕-๐๓ แบบติดตามและประเมินผลการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ (บรก ๐๔)

ENT-๓.๑-๕-๐๔ แบบประเมินผลสำเร็จของการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคม(บรก ๐๖)

 

6.

คณะมีส่วนร่วมในการบริการวิชาการแก่สังคมในระดับสถาบัน
      ผลการดำเนินงาน
๑.คณะกรรมการดำเนินงานบริการวิชาการภายในสถาบันมีการวางแผนดำเนินโครงการบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ร่วมกัน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและไม่ซ้ำซ้อน

๒.มหาวิทยาลัยจัดประชุมโดยเชิญคณบดีผู้อำนวยการคณะกรรมการดำเนินงานบริการทางวิชาการแก่สังคมระดับมหาวิทยาลัย และหัวหน้างานบริการวิชาการทางวิชาการแก่สังคม ของทุกหน่วยงานในสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง เพื่อพิจารณาจัดทำแผนแบบมีส่วนร่วมโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนแบบมีส่วนร่วมสู่แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญหาท้องถิ่นต้นแบบของจังหวัดตรัง ในวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ณ ห้อง ฉ๑๐๑ อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง

๓. มหาวิทยาลัยฯ ได้จัดสรรงบประมาณประจำปี พ.ศ.๒๕๖๑ เพื่อดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนแบบมีส่วนร่วมสู่แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นต้นแบบจังหวัดตรัง โดยมีกิจกรรมย่อย จำนวน ๔ กิจกรรมดังนี้

กิจกรรม

งบประมาณ

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

กิจกรรมย่อยที่ ๑ เทคนิคการใช้สื่อความหมายในการถ่ายทอดความรู้ผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนบ้านปากคลอง ต.บ่อหิน อ.สิเกา จ.ตรัง

๑๕,๐๐๐

วิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว

กิจกรรมย่อยที่ ๒ การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การปรับปรุงสถานที่ผลิตและกระบวนการผลิตตามหลักการสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร

๑๕,๐๐๐

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกาประมง

กิจกรรมย่อยที่ ๓ การเพิ่มศักยภาพในกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์กลุ่มแม่บ้านปากคลองตลาด ชุมชนบ่อหิน อ.สิเกา จ.ตรัง

๕๐,๐๐๐

คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี

กิจกรรมย่อยที่ ๔ การจัดการน้ำใช้ในการอุปโภคในสถานที่ผลิตเพื่อผ่านเกณฑ์รับรองมาตรฐาน

๒๐,๐๐๐

สถาบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

๔. เมื่อทุกกิจกรรมดำเนินการแล้วเสร็จ มหาวิทยาลัยฯ ได้จัดประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนแบบมีส่วนร่วมสู่แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นต้นแบบ ของจังหวัดตรัง ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐ ในวันพุธที่ ๒๗ มิถุนายน  ๒๕๖๑ ณ วิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรบ้านปากคลอง ชุมชนบ่อหิน อ.สิเกา จ.ตรัง​​

 

ENT-๓.๑-๖-๐๑ คำสั่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยที่ ๖๗๑/๒๕๖๑ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานบริการวิชาการระดับมหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐

ENT-๓.๑-๖-๐๒ คำสั่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยที่ ๑๐๗/๒๕๖๑ 
เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนแบบมีส่วนร่วมสู่แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นต้นแบบจังหวัดตรัง ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑

ENT-๓.๑-๖-๐๓ หนังสือขอเลื่อนประชุมจัดทำแผนแบบมีส่วนร่วม โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนแบบมีส่วนร่วมสู่แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นต้นแบบ ของจังหวัดตรัง

ENT-๓.๑-๖-๐๔ หนังสืออนุมัติดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนแบบมีส่วนร่วมสู่แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นต้นแบบ ของจังหวัดตรัง และโอนเงินงบประมาณโครงการ

ENT-๓.๑-๖-๐๕ หนังสือขอเชิญประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนแบบมีส่วนร่วมสู่แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นต้นแบบ ของจังหวัดตรัง

ENT-๓.๑-๖-๐๖ แบบรายงานผลการดำเนินงานโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนแบบมีส่วนร่วมสู่แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นต้นแบบ (แบบ บรก.๐๗)